วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556


ข้อที่ 1 ส่วนประกอบของโปรแกรม Photoshop Cs4 ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
Selection tool เครื่องมือกลุ่มนี้ว่าด้วยเรื่องการเลือกวัตถุ ประกอบไปด้วย
Selection tool(ลูกศรสีดำ)ใช้เลือกวัตถุทั้งชิ้น
Direct-selection tool(ลูกศรสขาว)ใช้เลือก points หรือ path ของวัตถุ (กดคีย์ Alt)
Magic wand tool(ไม้เท้าวิเศษ)เป็นเครื่องมือใหม่ ใช้เลือกวัตถุที่มีสีเดียวกัน การใช้งานเหมือนใน Photoshop (กดคีย์ Alt และ Shift)
Lasso tool ใช้เลือกโดยการคลิกเมาส์ Drag การใช้งานเหมือนใน Photoshop (กดคีย์ Alt และ Shift)
 


Create tool เครื่องมือกลุ่มนี้ว่าด้วยการสร้าง objects ไม่ว่าจะเป็นเส้น รูปทรงต่างๆ และตัวหนังสือ
Pen tool สร้างเส้น parthอย่างแม่นยำ โดยการใช้แขน มีผลทำให้ object มีจุดน้อย-น้อยมาก ส่วนเครื่องมือย่อยจะเอาไว้ใช้ปรับแต่ง curved ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจุด ลบจุด หักแขนของแกนเส้นสัมผัส (กดคีย์ Alt)
Type tool ใช้พิมตัวหนังสือ ข้อความต่างๆ ส่วนเครื่องมือย่อย ก็ง่ายๆตามรูป ใช้พิมพ์ตัวหนังสือให้อยู่ในกรอบบ้าง ทำตัวอักษรวิ่งตาม paths บ้าง ซึ่งผมจะไม่อธิบายมากเพราะ ไอคอนก็ง่ายต่อการจดจำอยู่แล่ว
Line segment tool อันนี้ไว้ลากเส้นตรง ในรายละเอียดของเครื่องมือย่อยก็ไม่มีอะไรมาก เช่นไว้ทำขดก้นหอย ทำ grid ของตารางหมากรุก grid แบบใยแมงมุม
Basic shape tool เอาไว้วาดรูปทรงพื้นฐาน 3-4-หลายเหลี่ยม และวงกลม shape รูปดาว แต่ที่เด่นที่สุดคือ flare tool ใช้สร้างเอฟเฟค lens-flare (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift)
Paintbrush tool แปรงที่เอาไว้สร้างเส้น parth โดยการ drag เมาส์ลากอย่างอิสสระ สามารถใช้ brush แบบพิเศษ (กดคีย์ Alt)
Pencil tool จะคล้ายๆ paintbrush tool แต่จะมีเครื่องมือย่อยให้เรียกใช้ในการแก้ไขเส้น ซึ่งจะช่วยในการปรับแต่งแก้ไข และทำให้งานดูดี+เร็วขึ้น (กดคีย์ Alt)

Transform tool เครื่องมือกลุ่มนี้ใช้ในการปรับแต่งรูปทรงของวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นหมุน เอียง บิด กลับด้าน ย่อ ขยาย นอกจากนี้ยังมีเอฟเฟคต่างๆด้วย
Rotate tool ใช้ในการหมุนวัตถุ โดยการกำหนดจุดหมุนก่อนแล้วจึงทำการหมุน ซึ่งสามารถกำหนดได้ว่าต้องการหมุนกี่องศา (กดคีย์ Alt)
Reflect tool ใช้ในการกลับด้านของวัตถุ (กดคีย์ Alt)
Twist tool ใช้ในการบิดวัตถุ โดยการกำหนดจุดก่อนแล้วจึงทำการบิด ซึ่งสามารถกำหนดได้ว่าต้องการบิดมากน้อย (กดคีย์ Alt)
Scale tool ปลับย่อขยายวัตถุ (กดคีย์ Alt และ Shift)
Shear tool ใช้เอียงวัตถุ (กดคีย์ Alt)
Reshape tool ใช้เพิ่มจุด และดึงยืดวัตถุ
The warp tool ใช้โน้มวัตถุให้บิดเบี้ยว (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift)
Twirl tool ทำให้วัตถุบิดตามจุดที่กำหนด (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift)
Pucker tool ดึงดูดจุดให้เข้าสู่จุดศูนย์กลาง (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift)
Bloat tool ทำให้วัตถุแบออก (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift)
Scallop tool ดึงวัตถุให้เข้าศูนย์กลางพร้อมกับสร้างรอยหยัก (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift)
Crystallize tool ขยายวัตถุให้ออกจากศูนย์กลางพร้อมกับสร้างรอยหยัก (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift)
Wrinkle tool สร้างคลื่นให้วัตถุ (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift)
Free transform tool ย่อ ขยาย หมุน เอียง วตถุ โดยอิสระ

Special tool เป็นเครื่องมือใหม่ที่จัดการเกี่ยวกะ Symbol และ graph
Symbol tool ใช้จัดการเกี่ยวกับ symbol ซึ่งมีเครื่องมือย่อยมากมาย แต่จะไม่ขอกล่าวถึง เพราะเครื่องมือแต่ละชิ้นมีไอคอนที่ง่ายต่อการเข้าใจอยู่แล้ว ขอให้ทดลองนำไปใช้เอง แล้วจะเข้าใจว่า tool แต่ละชิ้นใช้ทำอะไรได้บ้าง (กดคีย์ Alt)
Graph tool ใช้สร้าง graph ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งง่ายต่อการเข้าใจ และจะไม่ขอกล่าวถึงเช่นกัน (กดคีย์ Alt หรือ Shift และ Alt+Shift)

Paint color tool เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้จัดการเรื่องของสี
Mesh tool เป็นเครื่องมือสีที่เจ๋งสุดขีด(แต่ควบคุมยากเหมือนกัน)โดยการสร้าง point และมีแกนในการควบคุม (กดคีย์ Alt และ Shift)
Gradient tool เครื่องมือไล่ระดับสี ซึ่งมีการไล่ระดับอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ Linear และ Radial ใช้การลากจากจุดเริ่มต้น และ สิ้นสุดที่จุดปล่อยเมาส์ ในการควบคุมการไล่ระดับของสี (กดคีย์ Shift)
Eyedropper tool หลอดดูดสี ใช้ copy สีของวัตถุ สามารกำหนดได้ด้วยว่าจะ copy ลักษณะอย่างไร อะไรบ้าง (กดคีย์ Alt และ Alt+Shift)
Paint bucket tool ส่วนใหญ่จะใช้ควบคู่กับ eyedropper tool ใดยใช้เทสีลงบนวัตถุ (กดคีย์ Alt)
Measure tool เครื่องมือวัดขนาด (กดคีย์ Shift)
Blend tool เครื่องมือไล่ระดับการเปลี่ยนรูปร่างและสี สามารถควบคุมการไล่ระดับได้ 3 ชนิด
Auto trace tool ใช้ในการ trace จากภาพต้นฉบับที่เป็น bitmap ไปเป็น Vector ซึ่งเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับคนขี้เกียจโดยเฉพาะ

View tool กลุ่มเครื่องมือกลุ่มนี้จะเน้นที่มุมมองเป็นหลัก
Slice tool ใช้เกี่ยวกับการตัดแบ่งภาพออกเป็นส่วนๆ ใช้ในงานเวบ
Scissors tool ใช้คลิกบริเวณ outine ของวัตถุเพื่อกำหนดจุดตัด 2 จุดเพื่อแยกวัตถุออกจากกัน (กดคีย์ Alt)
Knife tool ใช้ drag ลากผ่านวัตถุเพื่ออแยกวัตถุออกจากกันเป็น 2 ส่วน โดยจะทำการ close paths ให้เราโดยอัตโนมัติ (กดคีย์ Alt)
Hand tool ใช้เลื่อนดูบริเวณพื้นที่การทำงานบนหน้าจอ (กดคีย์ Spacebar)
Page tool ใช้กำหนด print size
Zoom tool ใช้ย่อ และ ขยายพื้นที่การทำงาน (กดคีย์ Ctrl+Spacebar และ Ctrl+Alt+Spacebar)



ส่วนประกอบของโปรแกรม

 แอพพลิเคชั่นบาร์(Application Bar)
          
          จะเป็นแถบเครื่องมือที่เก็บปุ่มคำสั่งที่ใช้งานบ่อยๆ เอาไว้ เช่น เปิดโปรแกรม Bridge หมุนพื้นที่ทำงาน ย่อ-ขยายภาพ, จัดเรียงวินโดว์ภาพและจัดองค์ประกอบของเครื่องมือ

เมนูบาร์(Menu Bar)


          Menu Bar หรือแถบคำสั่งที่เก็บชุดคำสั่งสำหรับจัดการไฟล์งานที่เปิดใช้งาน ใน Photoshop Cs4 โดยแบ่งการทำงานออกเป็นหมวดหมู่ดังนี้


1. File ใช้จัดการไฟล์ลักษณะต่างๆเช่น การสร้างไฟล์ใหม่,การเปิดไฟล์ภาพ,การบันทึก,การนำเข้าไฟล์      และการส่งออกไฟล์เพื่อการทำงานในลักษณะต่างๆ

2. Edit เป็นชุดคำสั่งในหมวดหมู่การแก้ไข เช่น การตัด ,คัดลอก,การวาง รวมถึงการปรับแต่งค่าเบื่องต้นของโปรแกรม

3.  Image เป็นชุดคำสั่งในหมวดหมู่การปรับแต่งภาพ เช่นการปรับสี ,แสง, ความคมชัด ,การลดขนาดภาพและเพิ่มขนาดพื้นที่ใช้งาน เป็นต้น

4.  Layer เป็นชุดคำสั่งที่ใช้จัดการกับเลเยอร์ ทั้งการสร้างเลเยอร์ใหม่ แปลงเลเยอร์และจัดการเลเยอร์ด้านต่างๆ

5.  Select เป็นชุดคำสั่งที่ใส้สำหรับเลือกพื้นที่การใช้งานของรูปภาพ หรือใช้ร่วมกับคำสั่งที่อยู่ในทูลพาเนล

6.  Filter เป็นนชุดคำสั่งที่รวมเอฟเฟ็คต่างที่ใช้ในการปรับแต่งรูปภาพให้พิเศษกว่าภาพต้นฉบับ

7.  Analysis เป้นเครื่องมือวัดค่าและวิเคราะห์การทำงาน มีใช้ในPhotoshop CS4

8.  3D รวมคำสั่งที่ใช้กับภาพสามมิติ เป็นเมนูใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในPhotoshop CS4

9.  View ใช้เลือกรูปแบบการแสดงผล เช่น การซูมภาพ,การเรียกใช้ไม่บรรทัด,การแสดงเส้นกริดและเส้นไกด์

10.  Window ใช้เลือกแสดงพาเนลที่ใช้ในการทำงาน รวมถึงการกำหนดรูปแบบการแสดงวินโดว์ในแบบต่างๆ

11.  Help ใช้แสดงความช่วยเหลือของรายละเอียดการใช้งานโปรแกรมในรูปแบบต่างๆ

ทูลบ็อกซ์ (Toolbox)

          กล่องเครื่องมือ จะประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการวาด ตกแต่ง และแก้ไขภาพ เครื่องมือเหล่านี้มีจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีการรวมเครื่องมือที่ทำหน้าที่คล้ายๆ กันไว้ในปุ่มเดียวกัน


Panel (พาเนล)


          พาเนล คือ กรอบหน้าต่างย่อยๆที่มีคำสั่งและเครื่องมือในการจัดการ ตรวจสอบและปรับแต่งภาพ เครื่องมือเหล่านี้จะถูกจัดแบ่งไว้เป็นหมวดหมู่ เช่น พาเนล Color ใช้กำหนดสี , พาเนล Layers ใช้สำหรับจัดการเลเยอร์ เป็นต้น บางพาเนลที่มักใช้ร่วมกันจะถูกจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน เช่น พาเนล Color พาเนล Swatches และ StyLes การเปิดใช้งาน Panel ให้คลิกที่คำสั่ง Windos>ชื่อพาเนล



การยุบ/ขยายพาเนล

          เพื่อเพิ่มพื้นที่การทำงานเราสามารถยุบพาเนลที่ยึดกับแผงพาเนลและคอลัมน์ให้แสดงในรูปไอคอนได้ ซึ่งเมื่อต้องการใช้งานพาเนลใดก็ให้เปิดขึ้นมาเฉพาะพาเนลนั้น

1.  ยุบ/ขยายแผงพาเนลให้เป็นไอคอน ทำได้โดยให้คลิกที่แถบสีเทาเข้มด้านบนแผงพาเนล จากนั้นทุกพาเนลจะถูกยุบเป็นไอคอน




2.ปรับความกว้างของพาเนล



ข้อที่ 3 คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ หมายถึงอะไร
คำว่า กราฟิก (Graphic) มาจากภาษากรีก 2 คำคือ
1. Graphikos หมายถึง การวาดเขียน
2. Graphein หมายถึง การเขียน
ต่อมามีผู้ให้ความหมายของคำว่า “กราฟิก” ไว้หลายประการซึ่งสรุปได้ดังนี้
........กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
กราฟิกประกอบด้วย
1. ภาพบิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพที่มีการเก็บข้อมูลแบบพิกเซล หรือจุดเล็กๆ ที่แสดงค่าสี ดังนั้นภาพหนึ่งๆ จึงเกิดจากจุดเล็กๆ หลายๆ จุดประกอบกัน (คล้ายๆ กับการปักผ้าครอสติก) ทำให้รูปภาพแต่ละรูป เก็บข้อมูลจำนวนมาก เมื่อจะนำมาใช้ จึงมีเทคนิคการบีบอัดข้อมูล ฟอร์แมตของภาพบิตแมพ ที่รู้จักกันดี ได้แก่ .BMP, .PCX, .GIF, .JPG, .TIF
2. ภาพเวกเตอร์ (Vector) เป็นภาพที่สร้างด้วยส่วนประกอบของเส้นลักษณะต่างๆ และคุณสมบัติเกี่ยวกับสีของเส้นนั้นๆ ซึ่งสร้างจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น ภาพของคน ก็จะถูกสร้างด้วยจุดของเส้นหลายๆ จุด เป็นลักษณะของโครงร่าง (Outline) และสีของคนก็เกิดจากสีของเส้นโครงร่างนั้นๆ กับพื้นที่ผิวภายในนั่นเอง เมื่อมีการแก้ไขภาพ ก็จะเป็นการแก้ไขคุณสมบัติของเส้น ทำให้ภาพไม่สูญเสียความละเอียด เมื่อมีการขยายภาพนั่นเอง ภาพแบบ Vector ที่หลายๆ ท่านคุ้นเคยก็คือ ภาพ .wmf ซึ่งเป็น clipart ของ Microsoft Office นั่นเอง นอกจากนี้คุณจะสามารถพบภาพฟอร์แมตนี้ได้กับภาพในโปรแกรม Adobe Illustrator หรือ Macromedia Freehand
3. คลิปอาร์ต (Clipart) เป็นรูปแบบของการจัดเก็บภาพ จำนวนมากๆ ในลักษณะของตารางภาพ หรือห้องสมุดภาพ หรือคลังภาพ เพื่อให้เรียกใช้ สืบค้น ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว
4. HyperPicture มักจะเป็นภาพชนิดพิเศษ ที่พบได้บนสื่อมัลติมีเดีย มีความสามารถเชื่อมโยงไปยังเนื้อหา หรือรายละเอียดอื่นๆ มีการกระทำ เช่น คลิก (Click) หรือเอาเมาส์มาวางไว้เหนือตำแหน่งที่ระบุ (Over)

คอมพิวเตอร์กราฟฟิก
........คอมพิวเตอร์กราฟฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ยกตัวอย่างเช่น การทำ Image Retouching ภาพคนแก่ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามที่ผู้สื่อสาร ต้องการและน่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยกราฟ แผนภูมิ แผนภาพ เป็นต้น
........ภาพกราฟิกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
-กราฟิกแบบ 2 มิติ เป็นภาพที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย รูปวาด ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ รวมถึงการ์ตูนต่างๆ ในโทรทัศน์
-กราฟิกแบบ 3 มิติ เป็นภาพกราฟิกที่ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรม 3Ds Max โปรแกรม Maya เป็นต้น

ดังนั้น กราฟิกแบบ 2 มิติ คือ ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ โดยมีลักษณะเป็น 2 มิติ คือ สามารถมองเห็นตามแนวแกน X(ความกว้าง) กับ แกน Y(ความยาว) ซึ่งต่างจาก 3 มิติ ซึ่ง 3 มิติ นั้นจะมีแกน Z (ความหนาหรือความสูง) เพิ่มเข้ามา ทำให้เราเห็นเป็นรูปร่างที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

ส่วนรูปแบบหรือนามสกุลไฟล์ก็จะเป็น format รูปภาพทั่วๆไป เช่น .BMP, .PCX, .GIF, .JPG, .TIF, .WMF, .PNG เป็นต้น ซึ่งสามารถใช้โปรแกรม Adobe Photoshop, Illustrator, Freehand, Firework, Microsoft Visio, CorelDraw, GIMP เป็นต้น

สำหรับประโยชน์ของงานกราฟิกกับสังคมปัจจุบัน
- กราฟิกกับสังคมปัจจุบัน
........ปัจจุบันเทคโนโลยีได้วิวัฒนาการไปค่อนข้างรวดเร็ว การใช้ระบบการติดต่อสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น มีการกระจายของข้อมูลไปอย่างรวดเร็ว โดยอาจเป็นการกระจายข้อมูล จาก ที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง และการที่จะให้คนอีกซีกโลกหนึ่งเข้าใจความหมายของคนอีกซีกโลกหนึ่งนั้นเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ง่ายนักเนื่องมาจากความแตกต่างกันทั้งทางด้านขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม สภาพภูมิประเทศ สภาพดินฟ้าอากาศความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น ดังนั้นการใช้งานกราฟิกที่ดีที่สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนถูกต้อง จะช่วยให้มนุษย์สามารถสื่อสารกันได้ เข้าใจกันได้ เกินจินตนาการร่วมกัน อีกทั้งยังเกิดทัศนคติที่ดีต่อกันด้วย หรือถึงขั้นคล้อยตามให้ปฏิบัติตามได้
7 เดือน ผ่านไป


ข้อที่ 4 นักศีกษาคิดว่าคอมพิวเตอร์กราฟิิกส์มีความสำคัญอย่างไรในชีวิตประจำวัน

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในเรื่องต่าง ๆ เป็นอย่างมาก คอมพิวเตอร์ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ในสถาบันการศึกษามีการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการเรียนการสอนในสถานศึกษา โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก ซึ่งเหมาะสมกับการใช้งานออกแบบ จึงควรจะต้องเรียนรู้และนำมาใช้ในการเขียนแบบออกแบบงานสถาปัตยกรรม และงานตกแต่งภายใน เทคนิคการออกแบบและการนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์จึงเป็นที่นิยม และเพิ่มปริมาณการใช้ขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักออกแบบต้องมีความรู้ในเรื่องโปรแกรมสำเร็จรูปเกี่ยวกับงานออกแบบตกแต่งภายในและต้องมีทักษะในการใช้ออกแบบเพื่อนำไปออกแบบ และนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามามีบทบาทอย่างมากในทางการตลาด สามารถนำเสนองานให้เห็นเหมือนกับของจริงที่ยังไม่ได้ดำเนินการ เป็นการชักจูงโน้มน้าวการตัดสินใจในการซื้อของลูกค้าเป็นอย่างดีทำให้ลูกค้าตัดสินใจได้รวดเร็ว

                ระยะช่วงสมัยที่เรียกว่าเป็นยุคดิจิตัล (Digital) เครื่องมืออุปกรณ์อีเลกทรอนิกส์สมัยใหม่ คือ คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก คอมพิวเตอร์ที่นำเข้ามาในการเรียนการสอนวิชาศิลปะจะเป็นคอมพิวเตอร์กราฟิก ซึ่งเหมาะสมกับการใช้งานในการสร้างงานศิลปกรรม คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การเขียนภาพ หรือสร้างภาพโดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก เป็นข้อมูลที่แสดงในรูปของ เส้นกราฟ แผนภาพ แผนภูมิ รูปภาพ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันเนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็วในการนำเสนอ และแก้ไขงานได้ทันที บุคลากรทุกหน่วยงานไม่ว่าเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน นิยมใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกในงานศิลปกรรมเป็นส่วนมาก ทำให้การพัฒนางานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกเติบโตใช้ในธุรกิจโฆษณาและวงการภาพยนตร์อย่างแพร่หลาย ภาพเคลื่อนไหว(Animation) คอมพิวเตอร์กราฟิกเริ่มมีมาตั้งแต่ ค.ศ.1940 โดยรูปภาพที่ได้เกิดจากการนำเอาตัวอักษรมาประกอบกันเป็นรูปภาพ ต่อมา ปี ค.ศ. 1950 สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซานซูเซตส์ (MIT) ได้คิดพัฒนาหลอดภาพ CRT (Cathode Ray Tube) ขึ้นใช้เป็นส่วนแสดงผลแทนเครื่องพิมพ์ เนื่องจากต้องการให้มีความรวดเร็วมากขึ้น ในขณะที่กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาใช้ระบบ SAGE แปลงสัญญาณจากเรดาร์ให้เป็นภาพบนจอคอมพิวเตอร์ และเป็นครั้งแรกที่ใช้ปากกาแสง ต่อมาในปี ค.ศ.1963 อีวาน ซูเธอร์แลนด์ (Ivan Sutherland). ได้ทำปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ใช้ปากกาแสงกำหนดจุดบนจอภาพแทนระบบการวาดเส้น และเชื่อมโยงจุดต่างๆกลายเป็นโครงสร้างภาพรูปหลายเหลี่ยมเป็นพื้นฐานการออกแบบระบบงาน การออกแบบระบบไฟฟ้า และการออกแบบเครื่องจักร
ในปี ค.ศ. 1968 บริษัทเทคโทรนิกซ์ (Tectronix) ได้ผลิตจอภาพแบบใหม่ขึ้น และมีราคาถูกลงกว่าเดิมมาก จากราคาเดิมราคาเครื่องละ 100,000 ดอลลาร์ ในขณะที่เครื่องแบบใหม่ราคา15,000 ดอลลาร์ ในปีค.ศ.1970 คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มีราคาถูกลงมาก ทำให้คอมพิวเตอร์กราฟิกแพร่หลายอย่างรวดเร็ว ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกมีการพัฒนาควบคู่มากับฮาร์ดแวร์อย่างต่อเนื่อง ควบคู่กันมาจากการเริ่มต้นปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตของ อีวาน ซูเธอร์แลนด์(Ivan Sutherland) มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ควบคู่กับฮาร์ดแวร์มาอย่างต่อเนื่อง สตีเฟน คูนส์ (Steven Coons) และ ปิแอร์ เบเซอร์ (Pieere Bazier) ได้พัฒนาซอฟต์แวร์สร้างการเขียนเส้นโค้ง และพื้นผิวภาพ ทำให้สามารถสร้างภาพ 3 มิติได้สมจริง ในปัจจุบันได้พัฒนาการเขียนรูปได้เหมือนจริงมากขึ้นและทำให้ภาพเคลื่อนไหวเหมือนจริง ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น ในด้านการค้า การอุตสาหกรรม การศึกษา การฝึกอบรม การจำลองสถานการณ์ การนำเสนอภาพทัศนียภาพในการออกแบบงานสถาปัตยกรรม หรืองานออกแบบตกแต่งภายใน โปรแกรมพื้นฐานที่นักออกแบบทุกคนจะต้องเรียนรู้ในการสร้างงานกราฟิกมี 2 ชนิด คือ โปรแกรมประเภทวาดภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น